ขั้นตอนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา
กรรมวิธีการผลิต หรือการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ผลิตต้องมี ความชำนาญ มีความรู้ความสามารถ เข้าใจในเทคนิคต่างๆ อย่างเพียงพอ ในการผลิตเครื่องเบญจรงค์ แต่ละชนิด รวมไปถึงอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยในการผลิต กระบวนการผลิตจนได้เครื่องเบญ จรงค์มีสองงขั้นตอนหลักๆคือการผลิตเซรามิคของขาว หรือเครื่องขาว และกระบวนการเขียนลา ยเครื่องเบญจรงค์
เครื่องขาว หรือของขาว ที่นำมาผลิตเป็นเครื่องเบญจรงค์ เครื่องขาว หรือของขาว จะเป็นภาชนะรูปทรงต่างๆ มีสี ขาว อาทิเช่น โถประดับ จาน ชาม แก้วน้ำ หม้อ ข้าว ขันข้าว แจกัน ชุดน้ำชา และกาแฟ เป็นต้น ลักษณะการเคลือบของของขาวนั้นมี 2 ลักษณะ คือ เคลือบ เงา และเคลือบด้าน ซึ่งเมื่อนำมาผลิตเป็นเครื่องเบญจรงค์แล้ว จะให้ความสวยงามที่แตก ต่างกันไป เครื่องขาว หรือของขาวนี้ สามารถซื้อได้จากโรงงานในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุ ทรสาคร จังหวัดสระบุรี ราคารับซื้อขึ้นอยู่กับแบบ และขนาดของเครื่องขาวที่ใช้
วัตถุดิบ และเนื้อดินที่ใช้ในการผลิตเครื่องขาวเพื่อทำเครื่องเบญจรงค์ ; วัตถุดิบมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิต ในการตอบสนองให้งานที่ผลิตขึ้นเป็น ไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน และเป็นไปตามความต้องการของผู้ผลิต รวมทั้งมี ประสิทธิภาพสูง ความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ในเรื่องของวัตถุดิบที่นำมาใช้งาน ก่อให้ เกิดการพัฒนากรรมวิธีการผลิต การออกแบบ และการสร้างผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ขึ้นได้ วัตถุดิบที่นำมา ใช้ทำเครื่องเบญจรงค์ จะประกอบด้วย วัตถุดิบที่มีความเหนียว วัตถุดิบที่ไม่มีความเหนียว และวัตถุดิบอื่นๆ มีดังนี้
1.วัตถุดิบที่มีความเหนียว วัตถุดิบประเภทนี้ได้แก่ดิน ชนิดต่างๆ ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกัน แต่ที่เหมาะแก่การนำมาผลิตเครื่องปั้น และเครื่องเบญจรงค์ ได้แก่
ดินเกาลิน (Kaolin หรือ China Clay) ดินชนิดนี้บางแห่ง เรียกว่า ดินขาว เกิดจากจากการแปรสภาพของ หินแกรนิตเป็นหินฟันม้า มีความบริสุทธิ์สูง เนื้อดินหยาบ สีขาวหม่น มีความเหนียว น้อย หดตัวน้อย ทนความร้อนได้สูง ระหว่าง 1,400-1,500 องศาเซลเซียส
ดินเหนียว (Ball clay) ดินชนิดนี้บางแห่งเรียกว่า ดินดำ เป็นดินที่เกิดจากการ ชะล้างดินเกาลิน โดยธรรมชาติ มีแร่เหล็กปนอยู่ค่อนข้างสูง กับมีสารอินทรีย์ปนอยู่บ้าง เนื้อดินละเอียด สีคล้ำ มีควา ม เหนียว จุดหลอมละลายระหว่าง 1,300-1,400 องศาเซลเซียส เมื่อเผาสุกแล้วผลิตภัณฑ์จะมีสีขา วหม่นหรือสีเนื้อ เหมาะแก่การทำเครื่องปั้นประเภทเนื้อดิน และเนื้อแกร่ง หรือใช้ผสมกับดินเกาลินใ ห้เนื้อดินแข็งและเหนียวขึ้น เพื่อใช้ทำเครื่องปั้นประเภทเครื่องกระเบื้อง
ดินขาวเหนียว (Plastic clay) เกิดจากการผุกร่อนของหิน เนื้อดิน ละเอียด สีเนื้อ หรือสีเทา มีความเหนียว มักใช้ผสมกับดินชนิดอื่น เพื่อให้ขึ้นรูปทรงได้ง่าย
ดินแดง (Red clay หรือ Surface clay) เป็นดินที่มีความเหนียวมาก มีเหล็ก และแอลคาไล (alkali) ผสมอยู่ในเนื้อดินค่อนข้างสูง เนื้อดินสีเทาแก่ สีน้ำตาลแก่ สีน้ำ ตาลอ่อน มักนำไปทำกระเบื้อง มุงหลังคา โอ่ง ไห ครก หม้อดิน กระถางต้นไม้ เป็นต้น เมื่อ นำไปทำผลิตภัณฑ์อาจต้องผสมทรายเพื่อป้องกันการแตกตัว
ดินสีเทา หรือดินสโตนแวร์ (Stoneware clay) เป็นดินที่มีความ เหนียว เนื้อดินเป็นสีเทาอ่อน สีเทาแก่ หรือสีน้ำตาลเข้ม เมื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์ สามารถ ขึ้นรูปได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขึ้นรูป โดยใช้แป้นหมุน ทนความร้อนสูง ระหว่าง 1,200-1,500 องศาเซลเซียส ดินชนิดนี้ส่วนใหญ่ใช้ทำผลิตภัณฑ์ประเภทเคลือบไฟแรงสูง
ดินทนไฟ (Fire clay) เป็นดินเนื้อค่อนข้างหยาบ มีซิลิกา และอะลูมินาผสมอยู่มาก ดินมีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา หรือสีคล้ำ มีความเหนียวมาก ทนความร้อนสูงถึง 1,500 องศาเซลเซียส โดยไม่เปลี่ยนสภาพ ส่วนใหญ่จึงนำไปใช้ทำวัสดุทนไฟ เช่น ทุ่นทนไฟสำหรับวัดอุณหภูมิในเตาเผา อิฐทนไฟ ชิ้นส่วนของเตาเผา เป็นต้น
2.วัตถุดิบที่ไม่มีความเหนียว เป็นวัตถุที่นำมาใช้ผสมลงไปในเนื้อดินที่นำมาปั้นผลิตภัณฑ์ หรือใช้เป็นส่วนผสมของน้ำเคลือบ ซึ่งได้แก่ หินประเภทต่างๆ หินที่นำมาใช้งานดังกล่าว ได้แก่
หินฟันม้า (Flespar) เกิดจากการแปรสภาพของหินแกรนิต เป็นหินแข็ง ทึบแสง มีสีขาว สีชมพู มีความแตกต่างกันแยกได้หลายชนิด มักนำมาใช้ผสมในเนื้อดินเพื่อปั้นผลิตภัณฑ์ หรือใช้เป็นส่วนผสมในน้ำเคลือบ
หินเขี้ยวหนุมาน (Quartz) เป็นผลึกของซิลิกา มีความแข็งย่อยสลายมาก มีความบริสุทธิ์สูง เมื่อนำมาบดละเอียดหรือเผาใช้ผสมในเนื้อดินเพื่อปั้นผลิตภัณฑ์จะทำให้เนื้อดินลดการหดตัวทนไฟสูง ทำให้ผลิตภัณฑ์โปร่งใส ทั้งยังใช้ผสมในน้ำเคลือบ ทำให้เคลือบเป็นมัน ทนการกัดกร่อนได้ดี
หินไฟโรฟิลไลท์ (Pyrophylite) เป็นหินไม่แข็งมากนัก มีสีเทา สีเทาปนแดง เมื่อนำไปผสมในเนื้อดินปั้นผลิตภัณฑ์ทำให้มีความทนไฟสูง และลดการบิดเบี้ยวของตัวผลิตภัณฑ์ได้ดี ทั้งยังใช้ผสมในน้ำเคลือบเพื่อเพิ่มความหนืด และความทนไฟด้วย ทราย (Sand) ทรายส่วนมากประกอบไปด้วยแร่ซิลิกา เมื่อนำไปผสมในเนื้อดินปั้นผลิตภัณฑ์ จะทำให้เพิ่มความแข็งแรงแก่ตัวผลิตภัณฑ์ยิ่งขึ้น
3.วัตถุดิบอื่น ในการทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้น ยังได้ใช้วัตถุดิบอื่นผสมลงในเนื้อดินปั้นหรือน้ำเคลือบ เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ใช้งานของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด วัตถุดิบดังกล่าวมีดังนี้
เถ้ากระดูก (Bone Ash) ได้จากการเผากระดูก มีส่วนผสมของแคลเซียมฟอสเฟต และแคลเซียมคาร์บอเนต นำไปผสมในเนื้อดินปั้นเป็นตัวช่วยในการหลอมละลาย ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความโปร่งแสง
ทัลค์ (Talc) เมื่อนำไปผสมในเนื้อดินปั้นผลิตภัณฑ์ จะทำให้เนื้อดินลดความเหนียวลง มีผลให้ขึ้นรูปยาก แต่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ทนไฟสูง ทนต่อด่าง เพิ่มความต้านทานกระแสไฟฟ้าได้ดี จึงมักใช้ผสมในเนื้อดิน เพื่อทำลูกถ้วยไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ฉนวนไฟฟ้า กระเบื้องเคลือบห้องน้ำ เป็นต้น
เซอร์คอน (Zircon) มีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูงระหว่าง 1,500-1,800 องศาเซลเซียส จึงมักใช้ผสมในเนื้อดินเพื่อใช้ทำวัตถุทนไฟ ทำหรือผสมในน้ำเคลือบทำให้เป็นเคลือบสีขาวทึบแสง
สารประกอบอะลูมินา (Alumina) หมายถึงสารที่มีส่วนประกอบของอะลูมินาสูง ได้แก่ คอรันดัม บอกไซท์ กิบไซท์ และไดอะทอไมท์ เป็นต้น อะลูมินาเป็นสารที่ทนความร้อนได้ถึงอุณหภูมิ 2,050 องศาเซลเซียส ดังนั้นในการผลิตวัตถุทนไฟ จึงมักนำเอาสารที่มีส่วนประกอบของอะลูมินามาผสมใช้ทำผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
กระบวนการผลิตและเขียนลายเครื่องเบญจรงค์
1. ในการผลิตจะเริ่มเขียนวนทองเพื่อเป็นเส้นนำลาย ส่วนในลวดลายที่มีรายละเอียดสูง เช่นลายประเพณีไทย หรือลวดลายที่เป็นเรื่องราวในวรรณคดี ต้องมีการลอกลาย หรือร่างเส้นบนพื้นผิว ของขาว ก่อนจะลงลายน้ำทอง หรือตัดเส้นหลักก่อน แล้วเริ่มเขียนลายตามต้องการด้วยน้ำทอง
2. ทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อแห้งดีแล้ว จะนำมาลงสีตามลายที่เขียนทองไว้จนครบ การลงสีต้องไม่หนาจนเกินไป เพราะจะทำให้สีหลุดง่าย และต้องไม่บางจนเกินไป เพราะจะทำให้สีจางได้ง่ายอความเร็วในการทำงาน การลงสีนี้ อาจจำเป็นต้องใช้ช่างฝีมือหลายคน หากชิ้นงานมีรายละเอียดมากๆ ต้องมีการจัดแบ่งส่วนในการลงสีกัน ต่อมาจะทำการเก็บรายละเอียดต่างๆ และวนทองตามส่วนต่างๆ อีกครั้ง เช่น หูแก้ว ขอบโถ เป็นต้น
3. ในบางกลุ่มผู้ผลิต อาจมีเทคนิคพิเศษ ด้วยการลงสีพื้น ก่อน การตัดเส้นหลักและลงสีลาย ทำให้ได้ชิ้นงาน ที่มีความสวยงามแปลกออกไป ส่วนผสมบางอย่างนี้ อาจเป็นส่วนผสมเฉพาะตัวของกลุ่มผู้ผลิตบางกลุ่มเท่านั้น จากนั้น นำเข้าเตาเผา โดยเผาในอุณหภูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียส ใช้เวลาเผาประมาณ 4 -5 ชั่วโมง เมื่อเตาเย็น จึงนำเครื่องเบญจรงค์ออกมา และวางรอไว้จนอุณหภูมิเย็นลงในอุณหภูมิปกติ
ในส่วนของการควบคุมอุณหภูมิในการเผาก็ มีความสำคับเช่นกัน เพราะสีบางสี ที่ใช้ในการเขียนลาย อาจซีดหรือจางลง หรืออาจมีการผิดเพี้ยนไปได้ หาก ควบคุมอุณหภูมิได้ไม่คงที่ เช่นมาก หรือสูงเกินไป ส่วนนี้ มีการทดลองเก็บข้อมูลจากหลากหลายประสบการณ์ของกลุ่มผู้ผลิต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น